เหรียญหลวงพ่ออั้น วัดพระญาติ จ.อยุธยา พิมพ์รุ่นแรกย้อนยุค เนื้อทองแดงรมดำ ปี 2512
|
||||||||||||||||
|
||||||||||||||||
ส่งข้อความ
|
||||||||||||||||
ชื่อร้านค้า
|
บีริช พระเครื่อง /ชลบุรี | |||||||||||||||
โดย
|
Kshop | |||||||||||||||
ประเภทพระเครื่อง
|
พระเกจิทั่วไป | |||||||||||||||
ชื่อพระ
|
เหรียญหลวงพ่ออั้น วัดพระญาติ จ.อยุธยา พิมพ์รุ่นแรกย้อนยุค เนื้อทองแดงรมดำ ปี 2512 |
|||||||||||||||
รายละเอียด
|
เหรียญหลวงพ่ออั้น วัดพระญาติ จ.อยุธยา พิมพ์รุ่นแรกย้อนยุค เนื้อทองแดงรมดำ จัดสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2512 หลวงพ่อเฉลิม วัดพระญาติจัดสร้าง หลวงปู่ดู่ วัดสะแกร่วมปลุกเสก สภาพสวยสมบูรณ์ ตอกโค๊ตชัดเป๊ะ มาพร้อมบัตรรับรองพระเครื่องเพื่อยืนยันความแท้ และไม่มีหักซ่อมใดๆ ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานของร้าน นิว พระเครื่อง คือนอกจะแท้แล้ว ยังต้องสวยสมบูรณ์หมดจรดอีกด้วย ในราคาที่เป็นเจ้าของได้ไม่ยาก พระพิธีดี ปีลึก และที่สำคัญแท้ๆแบบนี้นับวันจะพบเจอน้อยลงทุกทีครับ ข้อมูลประวัติพระครูศีลกิตติคุณ หลวงพ่ออั้น คนฺธาโร วัดพระญาติการาม อยุธยา สำหรับประวัติของท่านมีอยู่ว่า เกิดเมื่อวันจันทร์ที่ 12 กันยายน 2435 โยมบิดาชื่อ นายคล้าย ศุภสุข โยมมารดาชื่อ นางสมบุญ ศุภสุข ส่วนชาติภูมิของท่านคือบ้านท่าหิน ต.ธนู อ.อุทัย อยุธยา มีพี่น้องร่วมบิดา-มารดาทั้งหมด 7 คนด้วยกัน หลวงพ่ออั้น ท่านบรรพชาอุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดพระญาติการาม เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2456 โดยมี หลวงพ่อกลั่น ธมฺมโชติ เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อฉาย คงฺคสุวณฺโณ (เมื่อครั้งยังดำรงสมณศักดิ์ที่ พระครูรัตนาภิรมย์) วัดตองปุ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ส่วนคู่สวดอีกองค์ หรือพระอนุสาวนาจารย์นั้นไม่ปรากฏชัดว่าเป็นท่านผู้ใด คงได้แต่สันนิษฐานกันเพียงว่า น่าจะเป็น พระอาจารย์รอด วิฑุโร วัดอโยธยา (ซึ่งก่อนหน้านั้นเคยอยู่วัดกะสังข์ และเป็นอาจารย์สอนมูลกัจจายน์ให้ท่าน หรือไม่เช่นนั้นก็อาจจะเป็น หลวงพ่อเลื่อง วัดประดู่ทรงธรรม) ได้รับฉายาว่า คนฺธาโร ท่านเจริญงอกงามในพระพุทธศาสนาเรื่อยมา จนเมื่อพระอุปัชฌาย์ถึงมรณภาพเมื่อ พ.ศ.2477 จึงได้ก้าวขึ้นเป็นเจ้าอาวาสสืบแทน (โดยใช้คำนำหน้านามว่า พระอธิการอั้น) ครั้นถึง พ.ศ.2478 ได้รับตำแหน่งเจ้าคณะตำบลหันตรา (โดยใช้คำนำหน้าว่า เจ้าอธิการอั้น) หลังจากนั้นอีกเพียง 2 ปี (พ.ศ.2480) ก็ได้รับแต่งตั้งให้ทำหน้าที่พระอุปัชฌาย์ สามารถให้การอุปสมบทแก่กุลบุตรในเขตปกครองได้ สำหรับเรื่องพระอุปัชฌาย์นี้ มีเกร็ดบอกเล่ากันในหมู่ลูกศิษย์ว่า ก่อนหน้าที่จะได้รับแต่งตั้งนั้น มีการเรียกไปฝึกอบรมที่วัดสุวรรณดาราราม โดยมี พระศรีสุธรรมมุนี (อาจ อาสโภ) หรือที่ภายหลังได้รับสถาปนาเป็น สมเด็จพระพุฒาจารย์ เป็นวิทยากรใหญ่ (ซึ่งสมัยนี้นิยมเรียกกันว่า ติวเข้ม หรืออะไรทำนองนั้น) สาระสำคัญของเกร็ดนี้มีอยู่ว่า เมื่อถึงคราวที่ต้องเข้าฝึกซ้อมกับ เจ้าคุณศรีฯ ซึ่งมีดีกรี เปรียญ 8 ประโยค องค์นั้น ท่านได้กำชับให้ หลวงพ่ออั้น หัดว่าภาษาบาลีเป็นสำเนียงมคธเหมือนที่ตนเองกล่าวนำให้ได้ แต่ว่าเท่าไรๆ ก็ไม่เหมือนสักที ทำให้ เจ้าคุณศรีฯ ไม่พอใจพูดตะคอกว่า ต้องว่าให้ได้ เมื่อถูกตะคอกใส่หน้าเช่นนั้นทำให้ หลวงพ่ออั้น ฉุนขาด ตอบกลับไปในทันที่ว่า ก็ผมเป็นคนไทยภาคกลาง ส่วนเจ้าคุณเป็นคน...ภาคอีสาน จะให้ว่าเหมือนกันได้อย่างไร ซึ่งส่งผลให้ บ่อนแตก ต้องหยุดฝึกซ้อมเพียงแค่นั้น อีกองค์หนึ่งแม้จะถึงกับยื่นใบลาออกเช่นกัน แต่ถูกท่าน เจ้าคุณศรีฯ ใช้ชั้นเชิงระงับยับยั้งเอาไว้ได้ องค์ดังกล่าวนี้ได้แก่ หลวงพ่อเพชร วัดนนทรีย์ ซึ่งเล่ากันว่า ขอลาออกทั้งตำแหน่ง กรรมการศึกษาและเจ้าอาวาส แต่ท่านองค์นั้นได้ยื่นเงื่อนไขให้ หลวงพ่อเพชร กลับมาล่ารายชื่อชาวบ้านสักประมาณ 10 คน จึงจะอนุมัติให้ลาออกได้ แต่ผลสุดท้ายปรากฏว่าไม่อาจหาชาวบ้านร่วมลงชื่อได้แม้แต่รายเดียว นอกจากเรื่องตำแหน่งหน้าที่ดังกล่าวมา น่าสนใจว่าในส่วนของสมณศักดิ์นั้น หลวงพ่ออั้น ยังได้รับพระราชทานสัญญาบัตรแต่งตั้งให้เป็นที่ พระครูศีลกิตติคุณ เมื่อ พ.ศ.2493 ซึ่งเรื่องนี้สร้างความ ปีติยินดีให้แก่บรรดาศิษยานุศิษย์เป็นยิ่งนัก จึงได้พร้อมใจกันจัดงานฉลองให้ในเดือนมีนาคม พ.ศ.2494 และในโอกาสเดียวกันนี้ หลวงพ่ออั้น ได้จัดสร้างเหรียญรูปท่านขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อแจกเป็นเครื่องตอบแทนแก่ผู้ที่ร่วมบริจาคเงินช่วยงาน อนึ่ง คงต้องกล่าวเอาไว้ในที่นี้ด้วยว่า ต่อมาในปี พ.ศ.2496 หลวงพ่ออั้น ได้สร้างเหรียญคล้ายกันขึ้นมาอีกรุ่นหนึ่ง ซึ่งมีข้อแตกต่างกันตรงที่เหรียญรุ่น (2) นี้ ด้านหน้าปรากฏลายกนกอยู่ใกล้หัวเข่าขวาซ้าย (ของรูปท่าน) ส่วนด้านหลังนั้นระบุปี พ.ศ. ที่สร้างเป็น ๒๔๙๖ ตกมาถึง พ.ศ.2509 หลวงพ่ออั้น ได้จัดงานฉลองอาคารเรียน (ร.ร.วัดพระญาติฯ) หลังใหม่ และในโอกาสเดียวกันนี้มีการจัดสร้างเหรียญรูปท่านขึ้นมาเป็นรุ่นที่ 3 ลักษณะคล้ายใบเสมา สำหรับ เหรียญเสมา นี้ มีข้อควรรู้อยู่ประการหนึ่งว่า ต่อมาในปี พ.ศ.2511 มีการสร้างขึ้นมาอีกรุ่นต่างหาก เนื่องจาก หลวงพ่ออั้น ได้รับเป็นประธานในการหาทุนก่อสร้าง ตึกสงฆ์อาพาธ ของโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา แต่ทว่าเหรียญรุ่นนี้ต่างกับรุ่นก่อนตรงที่ ด้านหลังได้ระบุข้อความ บอกถึงวัตถุประสงค์ ในการสร้างเอาไว้ให้เป็นที่สังเกตอย่างชัดเจน (ส่วนเหรียญที่เคยกล่าวว่าด้านหน้ามีการตอกโค้ดตรงสังฆาฏินั้น เป็นเหรียญลักษณะเดียวกันที่ หลวงพ่อเฉลิม สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2512) ส่วนเหรียญที่ หลวงพ่ออั้น สร้างเป็นรูปของท่านโดยเฉพาะ มีทั้งหมดรวม 4 รุ่น หรือ 4 พิมพ์ ดังได้กล่าวมาแล้วก่อนหน้า นอกจากนี้แน่นอนว่าสร้างขึ้นโดย หลวงพ่อเฉลิม (หรือ พระครูสังฆรักษ์เฉลิม เขมทสฺสี) เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบันบ้าง สร้างโดยพระเกจิอาจารย์หรือคณะกรรมการวัดอื่นๆ บ้าง อย่างเช่น วัดสะแก วัดพรานนก วัดลุ่ม วัดโพธิ์สาวหาญ วัดหนองน้ำส้ม และวัดโคกมะยม เป็นต้น แต่กระนั้นก็น่าสังเกตอย่างมากว่า เหรียญที่สร้างขึ้นมา ทุกรุ่นทุกพิมพ์ล้วนเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางทั้งนั้น 500 |
|||||||||||||||
ราคา
|
- | |||||||||||||||
เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ
|
0813493478 | |||||||||||||||
ID LINE
|
berichshop2009 | |||||||||||||||
จำนวนการเข้าชม
|
4,169 ครั้ง | |||||||||||||||
บัญชีธนาคารที่ใช้ยืนยันตัวตน
|
ธนาคารไทยพาณิชย์ / 963-2-219xx-x ธนาคารกสิกรไทย / 042-8-677xx-x
|
|||||||||||||||
|